วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สถาบันครอบครัว (Family Institutions)







ครอบครัวเป็นสถาบันสังคมที่สําคัญที่สุด เป็นหน่วยของสังคมที่มีความสัมพันธ์และความร่วมมือใกล้ชิด เป็นสถาบันที่มีความคงทนที่สุด และยังไม่เคยปรากฏว่าสังคมมนุษย์ใดไม่มีสถาบันครอบครัวปรากฏอยู่ เพราะมนุษย์ทุกคนจะต้องอยู ในสถาบันนี้ เนื่องจากเป็นสังคมกลุ่มแรกที่เราจะต้องเผชิญตั้งแต่แรกเกิดเติบโตในครอบครัว ครอบครัวจะให้ตําแหน่ง ชื่อและสกุล ซึ่งเป็นเครื่องบอกสถานภาพ และบทบาทในสังคมที่เรามีส่วนร่วมดวย ตลอดจนกําหนดสิทธิและหน้าที่ที่สมาชิกมีต่อกันและต่อสังคม
สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันที่เกิดจากแนวคิดที่จะตอบสนองชีวิตด้านความรักการมีเพศสัมพันธ์ การสืบสายโลหิตและเผ่าพันธุ์ กระบวนการเลี้ยงดูอบรมขัดเกลาสมาชิกใหม่ของสังคม สัตว์ทั้งหลายจะมีเฉพาะการผสมพันธุ์แต่มนุษย์จะมีการสมรสเพิ่มเข้ามาเพื่อให้วิถีการดําเนินชีวิตของผู้คนในสังคมดําเนินการไปได้ด้วยความเรียบร้อย ดังนั้นสถาบันครอบครัว จึงจะเริ่มต้นจากการสมรสหรือการแต่งงาน
ประเภทของครอบครัว
1. จํานวนของสมาชิกในครอบครัว แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.1 Nuclear family หรือครอบครัวเดี่ยว คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยบิดา มารดา และบุตรเท่านั้น
1.2 Extended family หรือครอบครัวขยาย คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยบิดา มารดา และบุตรรวมทั้งญาติพี่น้อง เช่น ปู ยา ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา ซึ่งอาศัยอยู่ภายในครอบครัวเดียวกัน
1.3 Polygamous family หรือครอบครัวซ้อน คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยสามีหนึ่ง ภรรยาหลายคน ครอบครัวแบบนี้จึงเป็นครอบครัวเดี่ยว 2 ครอบครัว หรือมากกว่าที่มีสามีและพ่อแม่รวมกันและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน
2. ที่อยู่อาศัยของคู่สมรส แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
2.1 Patrilocal family คือ ครอบครัวที่คู่สมรสใหม่เข้าไปรวมอยู่อาศัยกับครอบครัวของบิดามารดาของฝ่ายเจ้าบ่าว
2.2 Matrilocal family คือ ครอบครัวที่คู่สมรสใหม่อาศัยอยู่รวมกับบิดามารดาของฝ่ายเจ้าสาว
2.3 Neolocal family คือ ครอบครัวที่คู่สมรสใหม่แยกตัวออกไปอยู่ต่างหากจากครอบครัวบิดามารดาของตน
3. ความเป็นใหญ่ในครอบครัว แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
3.1 Partriarchal family คือ แบบของครอบครัวที่ผู้ชาย (หรือพ่อ) เป็นใหญ่ในครอบครัว เช่น ครอบครัวคนจีน
3.2 Matriarchal family คือ แบบของครอบครัวที่ผู้หญิง (หรือแม่) เป็นใหญ่ในครอบครัว เช่น ครอบครัวของพวกเอสกิโมบางเผ่า
3.3 Equalitarian family ได้แก่ ครอบครัวที่ผู้ชายและผู้หญิง (หรือพ่อและแม่) มีความเสมอภาคกัน คือ มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน
4. ความสัมพันธ์ทางสายโลหิต แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
4.1 Patrilineal เกี่ยวข้องกับการสืบสายโลหิตทางฝ่ายพ่อ เด็กที่เกิดมาต้องเป็นสมาชิกในกลุ่มญาติ (kinship group) ของฝ่ายพ่อ คือ เด็กมีความสัมพันธ์กับญาติทางฝ่ายพ่อเท่านั้น
4.2 Martrilineal เกี่ยวข้องกับการสืบสายโลหิตทางฝ่ายแม่ (ซึ่งตรงกันข้ามกับ Patrilineal)
4.3 Bilineal คือ ครอบครัวที่สืบสายโลหิต และสืบทอดมรดกทั้งฝ่ายบิดาและมารดา โดยถือว่าญาติทั้งสองฝ่าย มีความสําคัญเท่าเทียมกัน
หน้าที่ของสถาบันครอบครัว สถาบันครอบครัวมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. สร้างสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม ด้วยการให้กําเนิดบุตร ทําให้สังคมสามารถดํารงอยู่และสืบต่อไปได้อย่างมั่นคงถาวร
2. ควบคุมพฤติกรรมทางเพศของบุคคลในสังคมให้เหมาะสม ในรูปของการสมรส ซึ่งคู่สมรสต้องปฏิบัติตนตามสถานภาพและบทบาทของแต่ละฝ่าย คือ สามี ภรรยาตามที่สังคมกําหนด ทําให้ปัญหาทางเพศในสังคมลดลง
3. เลี้ยงดูสมาชิกใหม่ของสังคม คือ บุตรของตนให้พ้นจากภัยอันตรายต่างๆและเจริญเติบโตอย่างงมีคุณภาพ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
4. การให้ความรัก ความอบอุ่น ความหวังและกําลังใจให้แก่สมาชิก ทําให้สมาชิกมีขวัญกําลังใจ และมีความมั่นคงทางจิตใจ ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
5. การขัดเกลาทางสังคม โดยการอบรมสั่งสอนให้บุตรปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ปลูกฝังคุณลักษณะนิสัยให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
6. การกําหนดสถานภาพ และบทบาทของบุคคล เช่น เพศ ลําดับของสมาชิกในครอบครัว ชนชั้น ภูมิลําเนา ซึ่งบุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบรรทัดฐานของแต่ละสังคม
7. หน้าที่ทางเศรษฐกิจ คือ เป็นทั้งหน่วยผลิตและหน่วยบริโภคที่สําคัญของระบบเศรษฐกิจ
8. รักษาเพิ่มพูนและถ่ายทอดทางวัฒนธรรมของสังคมให้แก่สมาชิก ทําให้วัฒนธรรมในสังคมดํารงอยู่ต่อไป

1 ความคิดเห็น: