วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สังคมวิทยาบทที่ 7

การจัดช่วงชั้นทางสังคม



ความหมายของการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม 
การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม หมายถึง การที่บุคคลในสังคมได้ถูกจัดแบ่งเป็นชั้น ๆ โดยมีระบบของอันดับชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ในตำแหน่งหรือฐานะนั้น ๆ มีเกียรติหรือได้รับการยกย่องอยู่ในอันดับที่สูงกว่า เท่ากัน หรือต่ำกว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ อยู่ในฐานะอื่น ๆ ในสังคมเดียวกัน ชั้นของบุคคลแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของบุคคลหรือของกลุ่มบุคคลที่อยุ่ในสังคม บุคคลที่มีฐานะทางสังคมคนละชั้นจะมีความเท่าเทียมกันในสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบ อำนาจ อิทธิพล แบบแผนชีวิต ตลอดจนความสะดวกสบาย ความมีหน้าทีตาในสังคมแตกต่างกัน


บุคคลที่เกิดมาและมีชีวิตอยู่ในสังคมจะต้องเป็นสมาชิกของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งเสมอ แต่บุคคลอาจเปลี่ยนฐานะของตนได้ กล่าวคือ เริ่มแรกอาจเป็นคนชั้นต่ำ แต่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนและรับราชการดำรงตำแหน่งสูง เขาก็จะเป็นคนชั้นสูงของสังคมได้ แต่บุคคลดังที่กล่าวนี้ พบเห็นได้ยากส่วนมากแล้วบุคคลที่เป็นสมาชิกของชนชั้นใด มักจะเป็นสมาชิกของชนชั้นนั้นไปชั่วชีวิตของเขา

ยกตัวอย่าง วรรณะทั้ง 4 ของอินเดีย



วรรณะทั้ง 4 ระบบวรรณะเกิดจากพวก อริยะ หรือ อารยัน ซึ่งเข้ามารุกรานชนพื้นเมืองในอินเดียครั้งทำสงครามกับเจ้าของถิ่นเดิมซึ่ง เรียกว่าพวก มิลักขะ (หรือ ทัสสยุ หรือทราวิฑ) จนได้รับชัยชนะ

พวกมิลักขะต้องถอยร่นลงไปทางใต้ เหล่าอริยะจึงใช้ศาสนาพราหมณ์เป็นเครื่องมือในการแบ่งวรรณะ โดยถือว่าวรรณทั้ง 4 เกิดมาจากอวัยวะของพระพรหมที่ต่างกัน และพระพรหมได้กำหนดหน้าที่ให้วรรณะทั้ง 4 ต่าง ๆ กันไว้เรียบร้อยแล้ว วรรณะใหญ่ ๆ ในศาสนาพราหมณ์มีอยู่ 4 วรรณะ ดังนี้

1. วรรณะพราหมณ์ เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีขาวซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์มีหน้าที่ กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป ส่วนพวกที่เป็นนักบวชก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา

2. วรรณะกษัตริย์ เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีแดงซึ่งหมายถึงนักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันหรือขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือคณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม

3. วรรณะแพศย์ เกิดจากพระเพลา (ตัก) ของพระพรหมมีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ ได้แก่พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร

4. วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท(เท้า) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีดำหรือสีอื่น ๆ ที่ไม่มีความสดใส มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง

ยังมีคนอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ถือเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม ไม่มีคนในวรรณะอื่นคบหาสมาคมด้วย

การถือวรรณะอย่างรุนแรงเช่นนี้ เป็นพื้นฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมอินเดียทั้งก่อนพุทธกาลและในสมัยพุทธกาล ต้นตระกูลของวงศ์ศากยะคือพระเจ้าโอกากราช จนถึงสมัยพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมายาปกครองกรุงกบิลพัสดุ์แคว้นสักกะ ในสมัยนั้นสักกะเป็นแคว้นเล็ก ๆ ไม่มีกำลังทหารกล้าแข็ง อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นโกศลคือตกเป็นประเทศราชซึ่งพระเจ้ามหาโกศล กษัตริย์แห่งแคว้นโกศลได้ให้อำนาจการปกครองแก่พระเจ้าสุทโธทนะตามสมควร ดังนั้นจึงมีการปกครองแบบประชาธิไตยแบบสืบสันติวงศ์ ต่อมาภายหลังเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายนันทะและเจ้าชายราหุลออกผนวชหมดแล้ว ระบอบการปกครองจึงเปลี่ยนเป็นแบบสามัคคีธรรม คือเจ้าศากยะผลัดเปลี่ยนกันปกครองแคว้นวาระละ 1 ปี



ที่มา 
http://www.phuttha.com/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น