วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สังคมวิทยา บทที่1

นาย วิษณุ พวงพันธ์ 20100125
นางสาว พัชราภรณ์ อูบถว 201000055
นางสาว สุรีพร สุมประเสริฐ 201000276
นางสาว พักต์พิไล ต่างสี 201000321





เจาะใจ - เด็กเร่ร่อน จบปริญญาเอก 13Sep12

http://www.youtube.com/watch?v=9x7T5GdesNg

ความหมายของสังคมวิทยา สังคมวิทยาเป็นการศึกษาหรือเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เป็นการให้ข้อเท็จจริงและใช้วิธีการในทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประกอบ เพื่อจะให้ผล ตรงกับสภาวะที่เป็นจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ประวัติความเป็นมาของสังคมวิทยา สังคมวิทยาประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า Socius ซึ่งหมายความว่า เพื่อนหรือ ผู้คบหาสมาคม และ Logos ซึ่งหมายความว่า คำพูดหรือถ้อยคำ เมื่อรวมทั้งสองคำเข้าด้วยกัน ก็แปลว่า การพูดคุยเกี่ยวกับสังคม ซึ่งคล้ายกับคำว่า Sociology ที่หมายถึง การพูดคุยเกี่ยวกับพื้นแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม Socius เป็นคำภาษาละติน แต่คำว่า Logos เป็นภาษากรีก ศาสตร์แขนงใหม่นี้จึงเป็นการรวมคำที่ไม่ถูกต้อง เพราะมาจากสองภาษา ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นักปราชญ์ชาวอังกฤษชื่อ John Stuat Mill เสนอให้ใช้คำว่า Ethnology (ชาติพันธ์วิทยา) เพราะเป็นคำกรีกแท้ ๆ แต่ไม่มีใครนำมาใช้ พอปลายศตวรรษที่ 19 Herbert Spencer ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสังคมและใช้คำว่า Sociology เป็นหัวข้อผลงานของเขา ว่า “Sociology” จึงเป็นที่นิยมแพร่หลาย นักสังคมวิทยารุ่นแรก แม้จะอ้างตนเองเลื่อมใสในวิธีการศึกษาตามหลัก วิทยาศาสตร์ แต่ก็ยังไม่เคร่งครัดในวิธีการรวบรวมข้อมูลและการใช้เหตุผลความคิดของพวกนี้จึงมีลักษณะแบบเพ้อฝันหรือยึดมั่นในความเชื่อบางอย่างที่ไม่อาจจะพิสูจน์ได้

ทฤษฎีหลักของสังคมวิทยา มีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้จะขอนำแนวคิดของปราชญ์ทางสังคม คือ ออกัสต์ คอง (Auguste Comte) ชาวฝรั่งเศส ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการความรู้ของมนุษย์ เรียกว่า กฎแห่งขั้นสามขั้น (The Laws of Three Stages) และเฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) ชาวอังกฤษ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับกฎวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์
กฎแห่งขั้นสามขั้น (The Laws of Three Stages)
ปรัชญาทางสังคมของคองขึ้นอยู่กับแนวความคิดเกี่ยวกับขั้นสามขั้น เขามีความคิดว่า ความรู้ของมนุษย์ผ่านขั้น 3 ขั้น คือ
  1) ขั้นเทววิทยาหรือขั้นนิยาย (Theological or Fictitious Stage)
  2) ขั้นปรัชญาหรือขั้นแห่งเหตุผล (Metaphysical or Abstract Stage)
  3) ขั้นวิทยาศาสตร์ (Positive Stage)

ประโยชน์ของสังคมวิทยา
  1. สังคมวิทยาทำให้เรารู้จักตัวเองดีขึ้น
  2. สังคมวิทยาทำให้เรารู้จักผู้อื่นดีขึ้น
  3. สังคมวิทยาจะทำให้รู้จักสังคม
  4. สังคมวิทยาให้แง่คิดพิจารณาเหตุการณ์หรือสถานการณ์อีกแบบหนึ่ง
  5. สังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่ง
  6. สังคมวิทยาอาจถือเป็นอาชีพได้ หน่วยงานที่ต้องการนักสังคมวิทยามีทั้ง เอกชนและรัฐบาล

ความหมายและความสำคัญของการจัดระเบียบทางสังคม 

ความหมาย 
การจัดระเบียบทางสังคมชี้ไปถึงการกระทำร่วมกันอย่างสงบในหมู่ชนที่แตกต่างกันในสังคม คนส่วนมากทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายที่เป็นอุปสรรคและการยอมรับตามบทบาทและตำแหน่งอันมีอยู่ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม นอกจากนั้น สมาชิกของสังคมควรมีรูปแบบในจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย และแผนต่าง ๆ ร่วมกัน

ความสำคัญของการจัดระเบียบทางสังคม 
มนุษย์กับสังคมเป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป กล่าวคือ เมื่อมนุษย์เกิดขึ้นในโลก มนุษย์ก็ได้รวมอยู่เป็นสังคม แต่เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม เพื่อควบคุมแบบแผนแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ หากปล่อยให้มนุษย์แต่ละคนทำการตามอำเภอใจโดยปราศจากการควบคุมแล้ว สังคมก็ย่อมจะเกิดความปั่นป่วนยุ่งเหยิงและขาดระเบียบแบบแผน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม เพื่อสังคมจะเกิดสันติสุข
สิ่งที่น่าจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบทางสังคม ก็คือ
1) บรรทัดฐานทางสังคม (Norm)
2) สถานภาพ (Status)
3) บทบาท (Role)
4) การควบคุมทางสังคม

ความหมายของกลุ่ม 
ตามความเห็นของ Maciver and Page ได้อธิบายว่า กลุ่ม หมายถึง การรวมตัวของมนุษย์ชาติที่ต้องสัมพันธ์ติดต่อกับบุคคลอื่น เมื่อไม่มีความสัมพันธ์ติดต่อกับการรวมตัวของมนุษย์จะไม่เรียกว่า กลุ่ม แบบของการรวมกลุ่มมีความสัมพันธ์ทางสังคมเป็น พื้นฐาน เท่านั้น
ตามความเห็นของ Ogburn and Nimkoff เขาอธิบายว่า “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอยู่ร่วมกันและสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เรียกว่า กลุ่มสังคม”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น