วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สื่อมวลชน





การขัดเกลาทางสังคมหมายถึง  กระบวนการอบรมสั่งสอนสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเพื่อให้เห็นคุณค่าและนำเอากฎเกณฑ์   ระเบียบปฎิบัติเหล่านั้นไปเป็นแนวทางในการประพฤติปฎิบัติ  การขัดเกลาสังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องได้รับตลอตชีวิต  เพื่อที่จะทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่ตนเป็นสมาชิดอยู่ได้เป็นอย่างดี

การขัดเกลาทางสังคมอาจจำแนกได้  2  ประเภท
1.  การขัดเกลาทางสังคมโดยทางตรง
  เช่นการอบรมสั่งสอน  ขัดเกลาที่พ่อแม่ให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการสอนพูด  สอนมารยาทในการรับประทานอาหาร  หรือสอนให้เรียกพี่ 
น้อง  ปู่  ย่า  เป็นต้น ในกรณีนี้ผู้สอนและผู้รับจะรู้สึกตัวในกระบวนการอบรมสั่งสอนโดยตรง
2. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม   เช่น  การอ่านหนังสือพิมพ์  การฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์  ตลอดจนการดูภาพยนต์  ผู้รับจะเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว  โดยสิ่งที่เรียนรู้จะค่อยๆซึมซับเข้าไปจิตใต้สำนึกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่สังคมยอมรับ  และหากเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับกระทำในสิ่งที่แปลกแยกออกไป การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อมจะครอบคลุมไปถึง การเข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนด้วยและเพื่อนร่วมงาน  ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับตัวและการพัฒนาบุคลิก


การขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม  ค่านิยมสังคม  ซึ่งมีตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคม  ดังนี้   
1. ครอบครัว  เป็นตัวแทนสำคัญที่สุดในการทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม เพราะเป็นสถาบันแรกที่เด็กจะได้ระบการอบรมสั่งสอนและจะมีความผูกพันทางสายโลหิตอย่างลึกซึ้ง  ซึ่งจะมีผลทางอารมณ์  ความประพฤติ  เจตคติ  ตลอดจนบุคลิกภาพองบุคคลมากที่สุด  เช่นพ่อแม่สั่งสอนให้ลูกเป็นคนกตัญญู  เป็นต้น
2. กลุ่มเพื่อน  เป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคมอีกหน่วยหนึ่ง  เนืองจากกลุ่มแต่ละกลุ่มย่อมมีระเบียบ  ความเชื่อและค่านิยมเฉพาะกลุ่มตนเอง  ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไป  ตามลักษณะกลุ่ม  เช่น  การแต่งกาย กลุ่มเดียวกันก็จะแต่งกายคล้ายๆกัน  
3.โรงเรียน  เป็นตัวแทนสังคมที่ทำหน้าที่โดยตรงในการขัดเกลาสมาชิกตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่  โดยอบรมด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ขนบธรรมเนียม  ประเพณีต่างๆของสังคม  ตลอดจนค่านิยมและทักษะอันจำเป็นให้แก่สมาชิกในสังคม
4. ศาสนา  เป็นตัวแทนในการขัดเกลาจิตใจของคนในสังคมยึดมั่นในสิ่งที่ดีงาม  มีศีลธรรม  จริยธรรม  และความประพฤติในทางที่ถูกที่ควรโดยศาสนาจะมีอิทธิพลทางจิตวิทยาต่อบุคคล  ในการสร้างบุคลิกภาพ
5. กลุ่มอาชีพ   อาชีพแต่ละประเภทจะมีการจัดระเบียบปฎิบัติเฉพาะกลุ่ม  เช่น กลุ่มที่มีอาชีพค้าขายจะต้องมีความซื่อสัตย์ไม่เอาเปรียบลูกค้า  ผู้ที่เป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่มต่างๆก็ต้องเรียนรู้ประเพณีของกลุ่มอาชีพที่ตนเป็นสมาชิกอยู่
6.  สื่อมวลชน  มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารของสมาชิกในสังคม  มีส่วนในการขัดเกลาทางสังคมแก่มนุษย์ในด้านต่างๆ ทั้งด้านความคิด  ความเชื่อ  แบบแผนการประพฤติปฎิบัติ
แต่ในที่นี้เราจะยกตัวอย่างเกี่ยวกับ สื่อมวลชน
                สื่อมวลชนไมว่าจะเป็นแขนงใดก็ตาม ล้วนมีบทบาทที่สำคัญในการขัดเกลาทางสังคมแก่สมาชิกของสังคมได้เช่นกัน เช่น โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต วีดิทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น โดยเฉพาะวัยเด็กหรือวัยรุ่น ที่อาจจะได้รับอิทธิพลจากสื่อต่างๆๆ โดยขาดวิจารณญาณในการใคร่ครวญว่าสิ่งใดถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมบางครั้งก็มีการเลียนแบบโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากสิ่งที่เลียนแบบมานั้นเป็นสิ่งไม่ถูกต้องดีงามหรือไม่เหมาะไม่ควรก็จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาก็ได้ สื่อมวลชนเลยจึงมีการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์


นาย วิษณุ พวงพันธ์
นางสาว พัชราภรณ์ อูบถว
นางสาว สุรีพร สุมประเสริฐ

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มารยาททางสังคม

  • บทที่ 2
    มารยาททางสังคม ( etiquette )
    เป็นบรรทัดฐานที่เน้นในเรื่องเกี่ยวกับมารยาททางสังคมการทำตัวให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
     เช่น
    • มารยาทในการรับประทานอาหาร การแต่งกาย
      การสนทนา การแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่บุคคลอื่น การยกมือไหว้
      การอยู่ร่วมกัน   มารยาททางสังคมมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบ
      พฤติกรรมที่แสดงออกทางสังคมภายนอก

      • จากการที่ได้ดูวีดีโอคลิปเรื่อง น.ศ. วิศวกรรม ขายปลาหมึก

    • จากชีวิตจริง
      โดยสัญชาตญาณของคน...มันต้องมีความอายอยู่แล้ว
      เลือกเอาระหว่าง..........อาย หรือ อด

      จะไม่มีวันแพ้...  หากทุกก้าวยังมีหวัง   คติประจำใจของ จักรพงษ์  ประทุมมา (น้องไผ่) จากอาชีพปิ้งปลาหมึกขายเพื่อส่งเสียตัวเองเรียน จนเป็นกระแสด้านบวกของนักเรียนอาชีวะ หรือช่างกล ที่มักก่อปัญหาให้กับสังคม  กับอีกด้านหนึ่งของนักเรียนช่างกล ผู้มีความขยัน ไม่อายทำกิน ไม่หมิ่นเงินน้อย จนเป็นกระแสในโลก Social Network และ Social Media จากเว็บยอดนิยม Youtube, pantip และ Kapook จนทำให้มียอดคนดูคลิปกว่าแสนครั้ง ภายในเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์

      นายจักรพงษ์  ประทุมมา  หรือน้องไผ่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระดับปริญญาตรี (เทียบโอน) สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่  กับชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ อาศัยอยู่กับยายที่จังหวัดนครราชสีมา และต้องทำงานส่งเสียตัวเองเรียนตั้งแต่เป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมจนเรียนในระดับอุดมศึกษา ด้วยความมุมานะ อุตสาหะ ไม่ย่อท้อต่อความลำบาก โดยยึดอาชีพขายปลาหมึกปิ้งหลังเลิกเรียน เพื่อใช้เป็นค่าเทอม ค่าหอพักและค่าใช้จ่ายประจำวัน

การแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่บุคคลอื่น

 

การแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่บุคคลอื่น

        

แม่ใหญ่ ทัศนีย์ คีรีประณีต แม่ผู้ให้ “ชีวิต” ใหม่ แห่งบ้าน Safe Haven Orphanage

ถ้า คำว่า “แม่” มีความหมายเพียงแค่ เพศหญิงผู้ให้กำเนิดชีวิต หรือ เป็น แค่คำ เรียกขานผู้ให้กำเนิดสมาชิกใหม่ของสังคม ทัศนีย์ คีรีประณีต ก็อาจไม่ใช่ “แม่” ที่สมบูรณ์ตามความหมายเช่นนั้น แต่ถ้าหาก คำว่า แม่กินความไปถึง หญิงที่มีรักอันบริสุทธิ์ ยอมเสียเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อประคบประหงม เลี้ยงดูลูกให้เติบใหญ่ ยอมตกระกำลำบากโดยไม่สำนึกเสียใจ เพื่อสร้างเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทัศนีย์ คีรีประณีต ก็คือ “แม่” ผู้เพียบพร้อมไปด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ คือ “แม่” ผู้ให้กำเนิด “ชีวิตใหม่” แก่ลูก ทุก คนในบ้าน Safe Haven Orphanage สำหรับชาวพุทธ กว่าที่จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้น ช่างยากเย็น เสียยิ่งกว่า การที่เต่าตาบอดตัวหนึ่ง จะโผล่ขึ้นมาตรงกลางแอกในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ค่าของชีวิตจึงนับเป็นสิ่งที่ไม่อาจประมาณได้ แต่..สำหรับสังคมชาวกะเหรี่ยงบ้านแม่ระเมิง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เมื่อ 20 กว่าปีก่อน กลับมีความเชื่อที่ฝังแน่นว่า เด็กที่เกิดมาแล้วทำให้แม่ตาย มีค่าน้อยกว่าวัชพืชที่ขึ้นแซมในข้าวไร่ เป็นอัปมงคลถึงขั้นต้องฆ่าให้ตาย และใครก็ตามที่ฝ่าฝืนเลี้ยงเด็กเอาไว้ จะถูกสังคมขับไสออกจากหมู่กลุ่ม การตัดสินใจโอบอุ้มทารกคนแรกเอาไว้ เพื่อปกป้องภัย ด้วยความเมตตา เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน ทำให้ทัศนีย์ คีรีประณีต กลายเป็น ” แม่ใหญ่” ที่มีลูกเป็นเด็กที่ถูกตีตราว่าเป็นเด็กอัปมงคล เด็กถูกทอดทิ้ง เด็กยากไร้ เด็กที่พ่อแม่ไม่ต้องการ กว่า 60 คน ไม่ใช่ทั้งนักสังคมสงเคราะห์ ไม่ใช่เอ็นจีโอด้านเด็ก เป็นเพียงหญิงม่ายชาวกะเหรี่ยงยากจน อยู่ป่า ไร้การศึกษา ที่มีเพียงความเข้าใจถึงความปวดร้าว ว้าเหว่ ของลูกกำพร้าที่ไม่มีใครต้องการ เพราะเติบโตมาอย่างเด็กกำพร้าพ่อ เป็นหญิงไร้สถานภาพ ไร้ต้นทุนทางสังคมใด ๆ แต่ไม่ยอมทอดทิ้งหรือผลักไสเด็ก ที่ไม่ใช่เลือดในอกของเธอ ทั้งที่การเลี้ยงลูกกำพร้า ทำให้ต้องอดมื้อ กินมื้อ ต้องแบ่งปลากระป๋องเพียงกระป๋องเดียวสำหรับคน 30 คน แออัดยัดเยียดกันอยู่ในกระท่อมหลังเล็ก ๆ ยอมตกระกำลำบากไปเป็นคนใช้ในบ้านฝรั่ง จากคนในป่าต้นทุนต่ำศูนย์ เธอดิ้นรนทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกมีการศึกษา เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก ๆ เธอก้าวข้ามความกลัวและความอาย ฝึกฝนพัฒนาตนเอง จนสามารถใช้ภาษาอังกฤษ สื่อสารกระทั่งได้รับความช่วยเหลือจากชาวต่างชาติ จนเกิดเป็นบ้านสำหรับเด็ก ที่ชื่อว่า Safe Haven Orphanage บ้านหลังนี้ จึงไม่อาจเรียกว่า สถานสงเคราะห์ผู้ยากไร้ แต่เป็นบ้านหลังใหญ่ ที่แม่มีลูกหลายคน บ้านที่พี่ต้องดูแลน้อง บ้านที่ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ บ้านที่ลูกถูกสอนให้รู้จักทำงานช่วยเหลือตนเอง และบ้านที่มีแม่ ให้ความใส่ใจในทุกรายละเอียดของชีวิตลูก บ้านหลังใหญ่ ที่สถานที่อาจไม่สะดวกสบาย แต่ไม่เคย ยากไร้ ความสุข และ ความรัก หากถามว่า อะไร ที่ทำให้ผู้หญิงต้นทุนต่ำคนหนึ่ง ได้ชื่อว่า เป็นคนเล็กหัวใจใหญ่ ก็คงจะเป็นสิ่งนี้ หัวใจแห่งเพศแม่ และความรักความศรัทธา ในคุณค่าความเป็นมนุษย์ของเธอ ร่วมติดตามเรื่องราวของแม่ใหญ่ ทัศนีย์ คีรีประณีต แม่ผู้ให้ “ชีวิต” ใหม่ แห่งบ้าน Safe Haven Orphanage เจ้าของรางวัลคนค้นฅน อวอร์ด ครั้งที่ 3 สาขาคนเล็กหัวใจใหญ่ ในรายการคนค้นฅน อังคารที่ 24 เม.ย.นี้ เวลา 22.45 น. ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สังคมวิทยา บทที่1

นาย วิษณุ พวงพันธ์ 20100125
นางสาว พัชราภรณ์ อูบถว 201000055
นางสาว สุรีพร สุมประเสริฐ 201000276
นางสาว พักต์พิไล ต่างสี 201000321





เจาะใจ - เด็กเร่ร่อน จบปริญญาเอก 13Sep12

http://www.youtube.com/watch?v=9x7T5GdesNg

ความหมายของสังคมวิทยา สังคมวิทยาเป็นการศึกษาหรือเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เป็นการให้ข้อเท็จจริงและใช้วิธีการในทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประกอบ เพื่อจะให้ผล ตรงกับสภาวะที่เป็นจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ประวัติความเป็นมาของสังคมวิทยา สังคมวิทยาประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า Socius ซึ่งหมายความว่า เพื่อนหรือ ผู้คบหาสมาคม และ Logos ซึ่งหมายความว่า คำพูดหรือถ้อยคำ เมื่อรวมทั้งสองคำเข้าด้วยกัน ก็แปลว่า การพูดคุยเกี่ยวกับสังคม ซึ่งคล้ายกับคำว่า Sociology ที่หมายถึง การพูดคุยเกี่ยวกับพื้นแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม Socius เป็นคำภาษาละติน แต่คำว่า Logos เป็นภาษากรีก ศาสตร์แขนงใหม่นี้จึงเป็นการรวมคำที่ไม่ถูกต้อง เพราะมาจากสองภาษา ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นักปราชญ์ชาวอังกฤษชื่อ John Stuat Mill เสนอให้ใช้คำว่า Ethnology (ชาติพันธ์วิทยา) เพราะเป็นคำกรีกแท้ ๆ แต่ไม่มีใครนำมาใช้ พอปลายศตวรรษที่ 19 Herbert Spencer ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสังคมและใช้คำว่า Sociology เป็นหัวข้อผลงานของเขา ว่า “Sociology” จึงเป็นที่นิยมแพร่หลาย นักสังคมวิทยารุ่นแรก แม้จะอ้างตนเองเลื่อมใสในวิธีการศึกษาตามหลัก วิทยาศาสตร์ แต่ก็ยังไม่เคร่งครัดในวิธีการรวบรวมข้อมูลและการใช้เหตุผลความคิดของพวกนี้จึงมีลักษณะแบบเพ้อฝันหรือยึดมั่นในความเชื่อบางอย่างที่ไม่อาจจะพิสูจน์ได้

ทฤษฎีหลักของสังคมวิทยา มีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้จะขอนำแนวคิดของปราชญ์ทางสังคม คือ ออกัสต์ คอง (Auguste Comte) ชาวฝรั่งเศส ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการความรู้ของมนุษย์ เรียกว่า กฎแห่งขั้นสามขั้น (The Laws of Three Stages) และเฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) ชาวอังกฤษ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับกฎวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์
กฎแห่งขั้นสามขั้น (The Laws of Three Stages)
ปรัชญาทางสังคมของคองขึ้นอยู่กับแนวความคิดเกี่ยวกับขั้นสามขั้น เขามีความคิดว่า ความรู้ของมนุษย์ผ่านขั้น 3 ขั้น คือ
  1) ขั้นเทววิทยาหรือขั้นนิยาย (Theological or Fictitious Stage)
  2) ขั้นปรัชญาหรือขั้นแห่งเหตุผล (Metaphysical or Abstract Stage)
  3) ขั้นวิทยาศาสตร์ (Positive Stage)

ประโยชน์ของสังคมวิทยา
  1. สังคมวิทยาทำให้เรารู้จักตัวเองดีขึ้น
  2. สังคมวิทยาทำให้เรารู้จักผู้อื่นดีขึ้น
  3. สังคมวิทยาจะทำให้รู้จักสังคม
  4. สังคมวิทยาให้แง่คิดพิจารณาเหตุการณ์หรือสถานการณ์อีกแบบหนึ่ง
  5. สังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่ง
  6. สังคมวิทยาอาจถือเป็นอาชีพได้ หน่วยงานที่ต้องการนักสังคมวิทยามีทั้ง เอกชนและรัฐบาล

ความหมายและความสำคัญของการจัดระเบียบทางสังคม 

ความหมาย 
การจัดระเบียบทางสังคมชี้ไปถึงการกระทำร่วมกันอย่างสงบในหมู่ชนที่แตกต่างกันในสังคม คนส่วนมากทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายที่เป็นอุปสรรคและการยอมรับตามบทบาทและตำแหน่งอันมีอยู่ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม นอกจากนั้น สมาชิกของสังคมควรมีรูปแบบในจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย และแผนต่าง ๆ ร่วมกัน

ความสำคัญของการจัดระเบียบทางสังคม 
มนุษย์กับสังคมเป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป กล่าวคือ เมื่อมนุษย์เกิดขึ้นในโลก มนุษย์ก็ได้รวมอยู่เป็นสังคม แต่เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม เพื่อควบคุมแบบแผนแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ หากปล่อยให้มนุษย์แต่ละคนทำการตามอำเภอใจโดยปราศจากการควบคุมแล้ว สังคมก็ย่อมจะเกิดความปั่นป่วนยุ่งเหยิงและขาดระเบียบแบบแผน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม เพื่อสังคมจะเกิดสันติสุข
สิ่งที่น่าจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบทางสังคม ก็คือ
1) บรรทัดฐานทางสังคม (Norm)
2) สถานภาพ (Status)
3) บทบาท (Role)
4) การควบคุมทางสังคม

ความหมายของกลุ่ม 
ตามความเห็นของ Maciver and Page ได้อธิบายว่า กลุ่ม หมายถึง การรวมตัวของมนุษย์ชาติที่ต้องสัมพันธ์ติดต่อกับบุคคลอื่น เมื่อไม่มีความสัมพันธ์ติดต่อกับการรวมตัวของมนุษย์จะไม่เรียกว่า กลุ่ม แบบของการรวมกลุ่มมีความสัมพันธ์ทางสังคมเป็น พื้นฐาน เท่านั้น
ตามความเห็นของ Ogburn and Nimkoff เขาอธิบายว่า “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอยู่ร่วมกันและสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เรียกว่า กลุ่มสังคม”