วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ปัญหาการทำแท้ง


ปัญหาการทำแท้ง



การทำแท้งเกิดมาจาการที่เด็กสาวตั้งครรภ์แล้วไม่อยากมีลูก จึงได้ทำลายเด็กที่อยู่ในท้อง ส่วนสาเหตุที่ทำให้ไม่อยากมีลูกนั้นก็เป็นเพราะปัจจัยหลายอย่าง คือไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้ พ่อของเด็กในท้องก็ไม่รับผิดชอบ กลัวพ่อแม่ไม่ยอมรับ กลัวสังคมรังเกียจ กลัวว่าจะเสียการเรียน กลัวว่าเมื่อมีลูกแล้วจะไม่สามารถกลับมาเป็นอิสระได้อย่างเก่า และความอับอาย เป็นต้น แต่เมื่อไม่อยากมีลูกแล้วทำไมจึงได้ตั้งท้อง คำตอบก็คือเพราะความเผลอไผลไม่ได้ป้องกัน หรืออยากมีลูกแล้วตอนหลังมาเปลี่ยนใจ ซึ่งในปัจจุบันการป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์นั้นมีอยู่หลายวิธี แต่เด็กวันรุ่นหญิงนั้นไม่ทันได้ป้องกัน ซึ่งการที่ไม่ได้ป้องกันนั้นก็เป็นเพราะไม่คิดว่าจะมีเพศสัมพันธ์ จึงไม่ได้เตรียมป้องกัน เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็แก้ไขไม่ทันเสียแล้ว แต่เด็กสาวบางคนก็ตั้งใจให้ตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ผูกมัดฝ่ายชายให้รับผิดชอบ แต่เมื่อฝ่ายชายไม่ยอมรับผิดชอบ จึงได้เลือกการทำแท้งเป็นการแก้ปัญหาสุดท้ายที่ปลายเหตุ

การทำแท้งมีหลายวิธี
ใส่อุปกรณ์หรือฉีดสารเข้าทางช่องคลอด อาจทำโดยคลินิกทำแท้งเถื่อน
เหน็บยา
กินยา
ทำให้ร่างกายได้รับการกระทบกระเทือน

แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ได้โดยการ
ใช้ถุงยางอนามัย
ใช้ยาคุมกำเนิด   
ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

((( บาปกรรม จากการทำแท้ง )))
ในสังคมปัจจุบัน ปัญหาการทำแท้งส่วนใหญ่พบในกลุ่มวัยรุ่นกำลังเรียน หรือพนักงานโรงงานต่างๆ สถิติการทำแท้งนับวันมีจำนวนสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ในขณะเดียวกันก็พบคลินิกทำแท้งผิดกฎหมายทุกจังหวัด โดยเฉพาะในเขตโรงงานหรือสถาบันการศึกษา ยิ่งไปกว่านั้นบางประเทศเปิดโอกาสให้มีการทำแท้งเสรี เพราะรัฐบาลคิดว่าเป็นทางแก้ปัญหา เข้าใจว่าเป็นสิทธิ์ของผู้เป็นแม่ที่จะเลือกเอาเด็กไว้หรือไม่ก็ได้ หารู้ไม่เป็นบาปกรรมอย่างหนัก เพราะเป็นการฆ่ามนุษย์
ในความเป็นจริง การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ถือว่าได้เกิดในสุคติภูมิที่เกิดขึ้นได้ยาก ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า หากจะเปรียบเทียบจำนวนของผู้ที่ไปเกิดในทุคติ เช่น ไปเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน กับจำนวนผู้ที่มาเกิดในสุคติภูมิ เช่น โลกมนุษย์ สวรรค์ หรือ พรหมโลกแล้วละก็ จำนวนผู้ที่มาเกิดในสุคติภูมินี้น้อยนิดเหลือเกิน ไม่ถึงแม้ส่วนเสี้ยวของจำนวนผู้ที่ไปเกิดในทุคติ เหมือนฝุ่นในเล็บมือไม่อาจเปรียบเทียบกับแผ่นดินทั้งโลกนี้ได้ฉะนั้น

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ชนเผ่าชาวมอแกน

ชนเผ่าชาวมอแกน
ชนเผ่ามอแกน เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเกาะในบริเวณภาคใต้ของไทย มีรูปแบบของวิถีชีวิต
 ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ รวมทั้งค่านิยมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นของตนเอง 
ใช้ชีวิตเดินทางเคลื่อนย้ายถิ่น ทำมาหากินอยู่ในบริเวณเขตทะเลอันดามัน ชีวิตส่วนใหญ่ของชาวมอแกน
อาศัยอยู่บนเรือที่พวกเขาเรียกว่า
 
 กำบาง  
ความเชื่อเกี่ยวกับการเกิด 
ชาวมอแกนไม่ค่อยจะเชื่อในเรื่องพิธีการเกิดเท่าไรนัก เมือมีเด็กน้อยชาวมอแกนเกิดขึ้นมาก็เป็นเรื่องธรรมดามีเพียงแค่หมอตำแยเท่านั้นที่ทำคลอด โดยที่ไร้พิธีกรรม แม้กระทั้งชื่อของเด็กน้อยยังไม่มีเลย เพราะพ่อแม่ยังไม่กล้าที่จะตั้งชื่อลูก ไม่รู้ว่าลูกน้อยจะมีชีวิตรอดหรือไม่ การตั้งชื่อพ่อแม่จะต้องมั่นใจว่าลูกจะมีชีวิตรอดก่อนถึงจะตั้งชื่อ ดังนั้นชาวมอแกนจึงไม่ทราบอายุที่แน่นอนของตัวเอง
ความเชื่อหลังความตาย
ความเชื่อชีวิตหลังความตายของชาวมอแกนจะถือว่าการที่คนตายไปจะเป็นคนที่หมดทุกข์หมดกรรมแล้วไม่ต้องมาลำบากเหมือนคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นเราจะพบเห็นในงานศพของชาวมอแกนเขาจะไม่เศร้า จะมีงานรื่นเริงตลอดทั้งคืน
ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ ( ดิน น้ำ ป่า อากาศ )
 ชาวมอแกนเชื่อเรื่องเกี่ยวกับภูติทะเล
ความเปลี่ยนแปลง ในวิถีชีวิตของชาวเลทั้งสามกลุ่ม
   ภาษาของชาวเล ทั้งภาษามอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย เป็นภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียนหรือการบันทึกโดยตัวอักษร ดังนั้น ประวัติความเป็นมาตำนาน นิทาน ความรู้พื้นบ้านในด้านต่างๆ ของชาวเลจึงมีการบันทึกไว้ในระยะหลังๆ ชาวเลเริ่มชีมชับวัฒนธรรมและภาษาไทย




วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สังคมวิทยาบทที่ 7

การจัดช่วงชั้นทางสังคม



ความหมายของการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม 
การจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม หมายถึง การที่บุคคลในสังคมได้ถูกจัดแบ่งเป็นชั้น ๆ โดยมีระบบของอันดับชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ในตำแหน่งหรือฐานะนั้น ๆ มีเกียรติหรือได้รับการยกย่องอยู่ในอันดับที่สูงกว่า เท่ากัน หรือต่ำกว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ อยู่ในฐานะอื่น ๆ ในสังคมเดียวกัน ชั้นของบุคคลแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของบุคคลหรือของกลุ่มบุคคลที่อยุ่ในสังคม บุคคลที่มีฐานะทางสังคมคนละชั้นจะมีความเท่าเทียมกันในสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบ อำนาจ อิทธิพล แบบแผนชีวิต ตลอดจนความสะดวกสบาย ความมีหน้าทีตาในสังคมแตกต่างกัน


บุคคลที่เกิดมาและมีชีวิตอยู่ในสังคมจะต้องเป็นสมาชิกของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งเสมอ แต่บุคคลอาจเปลี่ยนฐานะของตนได้ กล่าวคือ เริ่มแรกอาจเป็นคนชั้นต่ำ แต่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนและรับราชการดำรงตำแหน่งสูง เขาก็จะเป็นคนชั้นสูงของสังคมได้ แต่บุคคลดังที่กล่าวนี้ พบเห็นได้ยากส่วนมากแล้วบุคคลที่เป็นสมาชิกของชนชั้นใด มักจะเป็นสมาชิกของชนชั้นนั้นไปชั่วชีวิตของเขา

ยกตัวอย่าง วรรณะทั้ง 4 ของอินเดีย



วรรณะทั้ง 4 ระบบวรรณะเกิดจากพวก อริยะ หรือ อารยัน ซึ่งเข้ามารุกรานชนพื้นเมืองในอินเดียครั้งทำสงครามกับเจ้าของถิ่นเดิมซึ่ง เรียกว่าพวก มิลักขะ (หรือ ทัสสยุ หรือทราวิฑ) จนได้รับชัยชนะ

พวกมิลักขะต้องถอยร่นลงไปทางใต้ เหล่าอริยะจึงใช้ศาสนาพราหมณ์เป็นเครื่องมือในการแบ่งวรรณะ โดยถือว่าวรรณทั้ง 4 เกิดมาจากอวัยวะของพระพรหมที่ต่างกัน และพระพรหมได้กำหนดหน้าที่ให้วรรณะทั้ง 4 ต่าง ๆ กันไว้เรียบร้อยแล้ว วรรณะใหญ่ ๆ ในศาสนาพราหมณ์มีอยู่ 4 วรรณะ ดังนี้

1. วรรณะพราหมณ์ เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีขาวซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์มีหน้าที่ กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป ส่วนพวกที่เป็นนักบวชก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา

2. วรรณะกษัตริย์ เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีแดงซึ่งหมายถึงนักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันหรือขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือคณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม

3. วรรณะแพศย์ เกิดจากพระเพลา (ตัก) ของพระพรหมมีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ ได้แก่พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร

4. วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท(เท้า) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีดำหรือสีอื่น ๆ ที่ไม่มีความสดใส มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง

ยังมีคนอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ถือเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม ไม่มีคนในวรรณะอื่นคบหาสมาคมด้วย

การถือวรรณะอย่างรุนแรงเช่นนี้ เป็นพื้นฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมอินเดียทั้งก่อนพุทธกาลและในสมัยพุทธกาล ต้นตระกูลของวงศ์ศากยะคือพระเจ้าโอกากราช จนถึงสมัยพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมายาปกครองกรุงกบิลพัสดุ์แคว้นสักกะ ในสมัยนั้นสักกะเป็นแคว้นเล็ก ๆ ไม่มีกำลังทหารกล้าแข็ง อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นโกศลคือตกเป็นประเทศราชซึ่งพระเจ้ามหาโกศล กษัตริย์แห่งแคว้นโกศลได้ให้อำนาจการปกครองแก่พระเจ้าสุทโธทนะตามสมควร ดังนั้นจึงมีการปกครองแบบประชาธิไตยแบบสืบสันติวงศ์ ต่อมาภายหลังเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายนันทะและเจ้าชายราหุลออกผนวชหมดแล้ว ระบอบการปกครองจึงเปลี่ยนเป็นแบบสามัคคีธรรม คือเจ้าศากยะผลัดเปลี่ยนกันปกครองแคว้นวาระละ 1 ปี



ที่มา 
http://www.phuttha.com/


เผ่ามาไซ (Maasai)


เผ่ามาไซ (Maasai)






ชื่อชนเผ่ามาไซอาจจะเป็นที่คุ้นเคยกันในหมู่คอหนังหรือผู้ที่เคยชมภาพยนต์ จากเยอรมันเรื่อง The White Maasai ซึ่งดัดแปลงมาจากหนังสือสารคดีชีวิตจริงชื่อเดียวกันของโครีนน์ ฮอฟมานน์ ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวความรักข้ามชาติพันธุ์ระหว่างคาโรล่า (Carola) นักธุรกิจสาวชาวสวิสกับเลมาเลี่ยน (Lemalian) นักรบมาไซหนุ่ม ซึ่งเรื่องจบลงด้วยการที่ทั้งสองต้องแยกทางกันเพราะความความแตกต่างทางด้าน วัฒนธรรม ภาพยนต์เรื่องนี้ชี้ให้เห็นความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมที่มักจะเป็นอุปสรรค ต่อการอยู่ร่วมกันของคนที่มาจากวัฒนธรรมอันแตกต่าง แต่อย่างไรก็ตาม ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งถ้าจะก้าวออกไปจากสิ่งที่นำเสนอใน ภาพยนต์มาสู่สภาพความเป็นจริงของชนเผ่านี้ในสังคมแอฟริกาในปัจจุบัน 

ชนเผ่ามาไซนั้นจัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์นิโลต ซึ่งเป็นพวกเดียวกับชาติพันธุ์ที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ในประเทศแทนซาเนีย ซูดานตอนใต้ ยูกันดา และเคนยา และพูดภาษา "มา" (Maa) ซึ่งอยู่ในภาษากลุ่มนิโล - ซาฮาราน อันเป็นภาษาที่พูดกันในแถบตอนบนของแม่น้ำไนล์และแม่น้ำชารี ชนเผ่านี้มีจำนวนประชากรที่ไม่ชัดเจน แต่จากการประมาณการครั้งล่าสุดพบว่ามีอยู่ 900,000 คน โดยกระจุกตัวอยู่ทางตอนใต้ของเคนยาประมาณ 453,000 คน และตอนเหนือของแทนซาเนีย 430,000 คน 




สังคมเผ่า มาไซประกอบด้วยกลุ่มย่อยๆ (เรียกกันในภาษามาว่า อิโลชอน) 16 กลุ่ม ได้แก่ อิลดามัต (Ildamat) อิลปูร์โก (Ilpurko) อิลกีกอนโยกี (Ilkeekonyokie) อิลอยไต (Iloitai) อิลกาปูติเอ (Ilkaputiei) อิลกันเกเร่ (Ilkankere) อิสิเรีย (Isiria) อิลมอยตานิก (Ilmoitanik) อิลูโดกิลานี (Iloodokilani) อิลอยโตกิโตกิ (Iloitokitoki) อิลารุซา (Ilarusa) อิลมาตาตาปาโต (Ilmatatapato) อิลวัวซินกิชู (Ilwuasinkishu) โกเร่ (Kore) ปารากูยู (Parakuyu) และอิลกิซองโก (Ilkisonko) 






ชาวมาไซดำรงชีวิตด้วยการเลี้ยงสัตว์เร่รอน สัตว์ที่เลี้ยงก็คือวัว แพะ และแกะ ซึ่งนอกจากจะเลี้ยงไว้บริโภคแล้ว สัตว์เหล่านี้ยังอาจใช้แลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสัตว์ประเภทเดิมและ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์เหล่านี้ หรือแม้แต่นำไปขายเพื่อแลกเป็นเงิน การเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อนดังกล่าวนี้จะเป็นไปตามฤดูกาล กล่าวคือไม่ได้เร่ร่อนไปไหนก็ได้ แต่จะเร่รอนแบบกลับมาที่เดิมตามฤดูกาล 


วิถีชีวิตแบบเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนเช่นนี้ส่งผลให้ชาวมาไซต้องมีระบบบริหารการ ใช้ที่ดินแบบสาธารณะ กล่าวคือ ทุกคนในกลุ่มมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าไปใช้ทรัพยากรที่มีอยู่บนที่ดิน ที่กำลังถือครองอยู่ในขณะนั้น แต่อย่างไรก็ตาม ในยามอุดมสมบูรณ์นั้น ชาวมาไซจะแบ่งที่ดินเป็นส่วนเพื่อให้แต่ละครอบครัวใช้ทำมาหากิน 


นอกจากนี้ วิถีชีวิตแบบเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนและระบบการใช้ที่ดินแบบสาธารณะนี้เองที่ทำ ให้ชาวมาไซผูกพันกับวัวและบุตรเป็นอย่างมาก อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดมากก็คือการที่ชนเผ่านี้วัดความมั่งคั่งของบุคคล ด้วยจำนวนวัวที่ถือครองและจำนวนบุตรที่เลี้ยงดูอยู่ โดยบุคคลจะต้องมีทั้งสองอย่างเป็นจำนวนมากถึงจะเรียกได้ว่ามั่งคั่งอย่างแท้ จริง มีวัวมากแต่มีลูกน้อย ก็ถือว่าไม่มั่งคั่ง ในขณะเดียวกัน มีลูกมากแต่ไม่ค่อยจะมีวัวก็ยังไม่ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานความมั่งคั่ง และแม้แต่ศาสนาของชาวมาไซก็ยังหนีไม่พ้นสองสิ่งข้างต้น ชนเผ่านี้เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้ประทานสิ่งดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากบทสวดของชาวมาไซ ที่กล่าวว่า ขอให้พระผู้สร้างจงได้ประทานวัวและบุตรแก่ปวงข้า 


ในเรื่อง ที่อยู่อาศัยนั้น ชาวมาไซไม่มีวัฒนธรรมการสร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวร มีแต่การสร้างที่พักชั่วคราว โดยที่พักดังกล่าวนี้จะเรียกกันว่า อินกาจิจิก (Inkajijik) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นเพิงพักรูปดาวหรือวงกลมทรงตัวด้วยเสาไม้และหุ่มด้วยผนัง ที่ทำขึ้นจากเศษกิ่งไม้โดยใช้ส่วนผสมของโคลน หญ้า มูลวัว ปัสสวะคน กิ่งไม้เล็กๆ และขี้เถ้า มาเป็นตัวผสานเนื้อในของผนัง การสร้างอินกาจิจิกจะเป็นหน้าที่ของผู้หญิง อินกาจิจิกแต่ละหลังจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก กว้างประมาณ 3 เมตร ยาว 5 เมตร และสูงประมาณ 1.5 เมตร ภายในจะใช้เป็นที่เก็บ ปรุง ตลอดจนบริโภคอาหาร เป็นที่เก็บทรัพย์สิน เป็นที่หลับนอน และยังเป็นที่เก็บสัตว์เลี้ยงอีกด้วย ชาวมาไซจะนิยมสร้างที่พักอยู่กันเป็นกลุ่มๆล้อมรอบด้วยรั้วที่ทำจากกิ่งหนาม ของต้นไม้จำพวกสีเสียด (Acacia) เพื่อป้องกันภัยจากสิงห์โต

ชาวมาไซ เป็นชนเผ่าที่บริโภคแต่ผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะมา
 จากวัวที่เลี้ยงไว้ ซึ่งได้แก่ นมวัว เนื้อวัว มันวัว และเลือดวัว โดยเฉพาะเลือดวัว จะนิยมบริโภคในโอกาสพิเศษ เช่น มอบให้กับผู้ที่ได้ผ่านพิธีสุหนัดมาแล้ว ให้แก่หญิงที่เพิ่งให้กำเนิดบุตร คนป่วย หรือใช้สำหรับบรรเทาอาการมึนเมา นอกจากนี้ชาวมาไซยังนิยมกินน้ำผึ้งและเปลือกไม้ โดยเปลือกไม้จะนิยมนำมาทำเป็นซุป


ด้วยเหตุที่มีวิถีชีวิตแบบเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ชาวมาไซจึงมีทัศนคติที่ไม่ดีต่ออาหารที่ได้มาจากการทำการเกษตรแบบเพาะปลูก โดยมีความเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการทำอันตรายธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน มีชาวมาไซจำนวนมากเริ่มบริโภคอาหารที่เป็นธัญญาพืชจำพวกข้าวโพด ข้าว มันเทศ มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ที่ผลิตจากชุมชนอื่นบ้างแล้ว 

สำหรับการแต่งกายนั้น ชาวมาไซจะแต่งตัวแตกต่างกันตามวัย เพศ และสถานที่ ในสมัยก่อน ชาวมาไซจะนิยมห่มร่างกายด้วยหนังสัตว์เช่นหนังแกะในกรณีที่เป็นผู้หญิงและ หนังลูกวัวหากเป็นคนดูแลฝูงสัตว์ โดยผ้าคลุมหนังสัตว์ดังกล่าวจะเรียกว่า ชูก้า ในภาษามา แต่ในปัจจุบันเสื้อคลุมชูก้าดังกล่าวซึ่งนิยมทำจากผ้าฝ้ายก็หาซื้อได้ตาม ท้องตลาดกันแล้ว ผ้าคลุมชูก้าของชาวมาไซมักมีสีแดงสด ซึ่งถือเป็นสีเอกลักษณ์ของชนเผ่ามาไซเลยก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม สีอื่นๆเช่น สีดำ สีน้ำเงิน สีนำชมพู มีลายแถบ เป็นลายตราหมากรุก หรือลายดอกไม้ก็มี ในบางครั้งผู้หญิงมาไซก็นิยมนุ่งผ้ากังก้า หรือ คังก้า (Kanga หรือ Khanga) ซึ่งเป็นที่นิยมใส่กันในหมู่ชนเผ่าแถบแอฟริกาตะวันออก โดยจะเป็นผ้าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร มีแถบลายรอบขอบนอกของผ้า และยังพบว่าชาวมาไซที่อาศัยในแถบชายฝั่งก็ยังนิยมนุ่งผ้ากิกอย (Kikoi) ซึ่งมีลักษณะเหมือนโสร่งหรือผ้าขาวม้าอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ชาวมาไซในแทนซาเนียยังสวมรองเท้าแตะบางๆที่ทำจากหนังวัวด้วย 

โดยปกติ ชาวมาไซจะนิยมสวมสายผูกข้อมือที่ทำจากไม้ และสวมสร้อยลูกปัดหลากสี นอกจากนี้แล้วชาวมาไซ โดยเฉพาะผู้หญิงมักจะชอบเจาะส่วนต่างๆของหู รวมไปถึงยืดติ่งหูแล้วฝังเครื่องประดับลงไป 

            ในเรื่อง ทรงผมนั้น ชาวมาไซจะพิถีพิถันเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยทรงผมจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเพศ โอกาส และช่วงอายุ กล่าวคือ ชาวมาไซผู้ชาย ซึ่งส่วนมากจะเป็นนักรบ จะไว้ผมยาว ย้อมเป็นสีแดงสดใสหรือแดงเลือดหมู และถักเป็นทรงเดดล็อก (dreadlock) โดยเชื่อกันว่าผมทรงนี้จะแสดงออกถึงความแข็งแกร่ง ความน่าเกรงขาม และความงามเยี่ยงชายชาตรี แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าพิธีกรรมสำคัญตามช่วงอายุ เหล่าชายชาวมาไซก็จะต้องโกนหัวเสมอ


สำหรับผู้หญิงมาไซนั้น ปกติแล้วจะนิยมโกนหัว แต่ก็มีหญิงมาไซบางกลุ่มเช่นกลุ่มตูร์กานา (Turkana) ซึ่งจะนิยมไว้ผมทรงเดดล็อกเช่นกัน แต่จะแตกต่างจากเดดล็อกของผู้ชาย กล่าวคือ จะมีการโกนผมด้านข้างเลยไปถึงด้านหลังศีรษะออกหมดเหลือไว้เฉพาะผมด้านบน จากนั้นก็จะถักผมที่เหลือด้านบนเป็นทรงเดดล็อก และในบางโอกาสนั้น เช่นกรณีที่ลูกชายหรือลูกสาวตาย ผู้เป็นแม่ก็จะรวบผมไว้ด้านหลังหรือไม่ก็ด้านหน้าเพื่อเป็นการไว้ทุกข์ 


 ในเรื่องศาสนานั้น ชาวมาไซนับถือพระเจ้าองค์เดียว โดยเชื่อว่าพระเจ้า ซึ่งเรียกว่า เองไก (Enkai) เป็นผู้สร้างโลกและสร้างมนุษย์ขึ้นมา 3 เผ่า คือ เผ่าตอร์โรโบ (Torrobo - เผ่าปิกมี่) ซึ่งชาวมาไซเชื่อว่าพระเจ้าได้ประทานน้ำผึ้งและเหล่าสัตว์ป่าไว้ให้เป็น อาหารของคนเหล่านี้ เผ่าต่อมาคือ เผ่ากิกูยู (Kikuyu) ซึ่งเป็นเกษตรกรที่พระเจ้าประทานเมล็ดพันธุ์ต่างๆให้ และชนเผ่าสุดท้ายก็คือชาวมาไซเอง ซึ่งพระเจ้าได้ประทานวัวมาให้ 






เองไก นั้นจะมีธรรมชาติที่ขัดแย้งกันในตัวเอง กล่าวคือ ในด้านหนึ่งจะเป็นเทพที่ทรงความกรุณา ซึ่งเรียกว่า เองไก นาร็อก (Engai Narok - เทพดำ) แต่อีกด้านหนึ่ง เป็นเทพที่อาฆาตมาดร้าย เรียกว่า เองไก นันโยกี (Engai Nanyokie - เทพแดง) เชื่อกันว่าเทพองค์นี้ประทับอยู่บนภูเขาแห่งเทพเจ้าที่อยู่ทางเหนือสุดของ แทนซาเนีย 

            บุคคลทางศาสนาที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ในสังคมมาไซก็ คือหมอผี ซึ่งในภาษามาไซเรียกกันว่า ไลบอน (Laibon) ซึ่งจะรับผิดชอบด้านพิธีกรรมของชนเผ่า เช่น ขอฝน ประกอบพิธีเอาฤกษ์เอาชัยในการสงคราม ทำนายเหตุการณ์ และรักษาโรคตามหลักไสยศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary group)


กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary group)
เป็นกลุ่มคนที่ประกอบด้วยผู้คนจำนวนมาก สัมพันธภาพทางสังคมของสมาชิกเป็นไปตามแบบแผน ขาดความเป็นกันเอง ลักษณะของกลุ่มทุติยภูมิ ประกอบด้วย
1. เป็นกลุ่มที่ผู้คนรวมตัวกันโดยมีการจัดระเบียบ มีการแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ
2. เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับกลุ่มปฐมภูมิ
3. เป็นกลุ่มที่รวมตัวกันอย่างมีเป้าหมาย
4. การติดต่อกันอาศัยหน้าที่ (Function) มากกว่าเป็นการส่วนตัว
5. การติดต่อกันมักจะมีระยะสั้น
6. ขาดความเห็นอกเห็นใจ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
7. การติดต่อสัมพันธ์กัน เพื่อมุ่งหวังผลประโยชน์
8. ผู้คนในกลุ่มทำงานตามหน้าที่และมุ่งหวังผลประโยชน์ของตนเอง
9. ความจริงใจต่อกันมีจำกัด และบางครั้งอาจแสร้งทำ
10. การตัดสินใจของกลุ่มอาศัยเหตุผล ยึดความถูกต้องเป็นหลัก เมื่อกลุ่มตัดสินใจแล้วสมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตาม
ตัวอย่างกลุ่มทุติยภูมิ เช่น องค์การ สมาคม สโมสร กองทัพ สหภาพ แรงงาน เป็นต้น
ข้อดีของกลุ่มทุติยภูมิ
1.ทำให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.ทำให้เกิดความยุติธรรมในหน่วยงานมากขึ้น เพราะไม่มีการเห็นแก่พรรคพวก
3.ทำให้สังคมมีระเบียบมากขึ้น
ข้อเสียของกลุ่มทุติยภูมิ
1.ทำให้ขาดความเห็นอกเห็นใจกัน
2.เกิดการแข่งขันสูงมากขึ้น จนบางครั้งกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว
3.ไม่มีความเป็นกันเอง มีพิธีรีตองมากขึ้นในการปฏิบัติตน

ในระบบการทำงานโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ มักจะออกในรูปของกลุ่มทุติยภูมิ เช่น รูปแบบขององค์การแบบราชการ (bureaucracy) ทั้งนี้เพราะ
1.มีการแบ่งงานชัดเจนมากขึ้น
2.มีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น
3.มีการใช้อำนาจผู้บังคับบัญชาในการควบคุมการทำงานมากขึ้น
4.การทำงานต้องเป็นไปตามกฎระเบียบ ไม่ใช่ความสัมพันธ์ส่วนตัว

5.การเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งเป็นไปตามความรู้ ความสามารถเฉพาะตัวมากขึ้น

สังคมชนบท (กลุ่มปฐมภูมิ)


กลุ่มปฐมภูมิ คืออ่ะไร?





  เป็นสังคมที่มีประชากรเบาบาง กระจัดกระจายกันเป็นหมู่บ้าน
- ประชาชนในกลุ่มมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
- ระดับการศึกษาค่อนข้างต่ำ โอกาสในการศึกษาแสวงหาความรู้มีน้อยกว่าในเมือง
- ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวนา ชาวไร่ ผลิตผลการเกษตรค่อนข้างต่ำ รายได้ไม่แน่นอน
- การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชนมีน้อย
- มีความเชื่อถือศรัทธาในศาสนาสูง เคร่งครัดในประเพณี
- การสื่อสาร การคมนาคมขนส่งไม่สะดวก เป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า  
จัดได้ว่าเป็นโครงสร้างที่ สำคัญที่สุด ของสังคมไทย เพราะเท่ากับเป็นโครงสร้าง ของสังคมไทยทั้งหมด ลักษณะจำเพาะที่  สำคัญของสังคมชนบท ได้แก่ การร่วมกลุ่มแบบอรูปนัย (informal) ของกลุ่มปฐมภูมิ (primary group) มีการติดต่อ กันแบบตัวถึงตัว สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม ซึ่งคล้ายคลึงกัน ทำให้สถานภาพและบทบาทของ คนในสังคมชนบทไม่แตกต่างกันมากนัก ในสังคมชนบทมีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น สมาชิกของสังคมทำหน้าที่สอดคล้องต่อเนื่องกันอย่างราบรื่น โดยมีระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ มีการนับถืออาวุโส มีความเห็นอกเห็นใจกัน และมีค่านิยมในเรื่องคุณความดีทางศาสนาเป็นตัวควบคุมความประพฤติทางสังคมของ คนชนบท สถานภาพจะมีลักษณะ จำเพาะของตัวบุคคลเอง เช่น อายุ ความสามารถ และคุณความดี ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำในสังคมชนบทมักได้แก่ พระ ผู้ใหญ่บ้าน กำนันและผู้อาวุโสที่ชาวบ้านเคารพนับถือ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สถาบันครอบครัว (Family Institutions)







ครอบครัวเป็นสถาบันสังคมที่สําคัญที่สุด เป็นหน่วยของสังคมที่มีความสัมพันธ์และความร่วมมือใกล้ชิด เป็นสถาบันที่มีความคงทนที่สุด และยังไม่เคยปรากฏว่าสังคมมนุษย์ใดไม่มีสถาบันครอบครัวปรากฏอยู่ เพราะมนุษย์ทุกคนจะต้องอยู ในสถาบันนี้ เนื่องจากเป็นสังคมกลุ่มแรกที่เราจะต้องเผชิญตั้งแต่แรกเกิดเติบโตในครอบครัว ครอบครัวจะให้ตําแหน่ง ชื่อและสกุล ซึ่งเป็นเครื่องบอกสถานภาพ และบทบาทในสังคมที่เรามีส่วนร่วมดวย ตลอดจนกําหนดสิทธิและหน้าที่ที่สมาชิกมีต่อกันและต่อสังคม
สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันที่เกิดจากแนวคิดที่จะตอบสนองชีวิตด้านความรักการมีเพศสัมพันธ์ การสืบสายโลหิตและเผ่าพันธุ์ กระบวนการเลี้ยงดูอบรมขัดเกลาสมาชิกใหม่ของสังคม สัตว์ทั้งหลายจะมีเฉพาะการผสมพันธุ์แต่มนุษย์จะมีการสมรสเพิ่มเข้ามาเพื่อให้วิถีการดําเนินชีวิตของผู้คนในสังคมดําเนินการไปได้ด้วยความเรียบร้อย ดังนั้นสถาบันครอบครัว จึงจะเริ่มต้นจากการสมรสหรือการแต่งงาน
ประเภทของครอบครัว
1. จํานวนของสมาชิกในครอบครัว แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.1 Nuclear family หรือครอบครัวเดี่ยว คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยบิดา มารดา และบุตรเท่านั้น
1.2 Extended family หรือครอบครัวขยาย คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยบิดา มารดา และบุตรรวมทั้งญาติพี่น้อง เช่น ปู ยา ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา ซึ่งอาศัยอยู่ภายในครอบครัวเดียวกัน
1.3 Polygamous family หรือครอบครัวซ้อน คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยสามีหนึ่ง ภรรยาหลายคน ครอบครัวแบบนี้จึงเป็นครอบครัวเดี่ยว 2 ครอบครัว หรือมากกว่าที่มีสามีและพ่อแม่รวมกันและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน
2. ที่อยู่อาศัยของคู่สมรส แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
2.1 Patrilocal family คือ ครอบครัวที่คู่สมรสใหม่เข้าไปรวมอยู่อาศัยกับครอบครัวของบิดามารดาของฝ่ายเจ้าบ่าว
2.2 Matrilocal family คือ ครอบครัวที่คู่สมรสใหม่อาศัยอยู่รวมกับบิดามารดาของฝ่ายเจ้าสาว
2.3 Neolocal family คือ ครอบครัวที่คู่สมรสใหม่แยกตัวออกไปอยู่ต่างหากจากครอบครัวบิดามารดาของตน
3. ความเป็นใหญ่ในครอบครัว แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
3.1 Partriarchal family คือ แบบของครอบครัวที่ผู้ชาย (หรือพ่อ) เป็นใหญ่ในครอบครัว เช่น ครอบครัวคนจีน
3.2 Matriarchal family คือ แบบของครอบครัวที่ผู้หญิง (หรือแม่) เป็นใหญ่ในครอบครัว เช่น ครอบครัวของพวกเอสกิโมบางเผ่า
3.3 Equalitarian family ได้แก่ ครอบครัวที่ผู้ชายและผู้หญิง (หรือพ่อและแม่) มีความเสมอภาคกัน คือ มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน
4. ความสัมพันธ์ทางสายโลหิต แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
4.1 Patrilineal เกี่ยวข้องกับการสืบสายโลหิตทางฝ่ายพ่อ เด็กที่เกิดมาต้องเป็นสมาชิกในกลุ่มญาติ (kinship group) ของฝ่ายพ่อ คือ เด็กมีความสัมพันธ์กับญาติทางฝ่ายพ่อเท่านั้น
4.2 Martrilineal เกี่ยวข้องกับการสืบสายโลหิตทางฝ่ายแม่ (ซึ่งตรงกันข้ามกับ Patrilineal)
4.3 Bilineal คือ ครอบครัวที่สืบสายโลหิต และสืบทอดมรดกทั้งฝ่ายบิดาและมารดา โดยถือว่าญาติทั้งสองฝ่าย มีความสําคัญเท่าเทียมกัน
หน้าที่ของสถาบันครอบครัว สถาบันครอบครัวมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. สร้างสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม ด้วยการให้กําเนิดบุตร ทําให้สังคมสามารถดํารงอยู่และสืบต่อไปได้อย่างมั่นคงถาวร
2. ควบคุมพฤติกรรมทางเพศของบุคคลในสังคมให้เหมาะสม ในรูปของการสมรส ซึ่งคู่สมรสต้องปฏิบัติตนตามสถานภาพและบทบาทของแต่ละฝ่าย คือ สามี ภรรยาตามที่สังคมกําหนด ทําให้ปัญหาทางเพศในสังคมลดลง
3. เลี้ยงดูสมาชิกใหม่ของสังคม คือ บุตรของตนให้พ้นจากภัยอันตรายต่างๆและเจริญเติบโตอย่างงมีคุณภาพ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
4. การให้ความรัก ความอบอุ่น ความหวังและกําลังใจให้แก่สมาชิก ทําให้สมาชิกมีขวัญกําลังใจ และมีความมั่นคงทางจิตใจ ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
5. การขัดเกลาทางสังคม โดยการอบรมสั่งสอนให้บุตรปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ปลูกฝังคุณลักษณะนิสัยให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
6. การกําหนดสถานภาพ และบทบาทของบุคคล เช่น เพศ ลําดับของสมาชิกในครอบครัว ชนชั้น ภูมิลําเนา ซึ่งบุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบรรทัดฐานของแต่ละสังคม
7. หน้าที่ทางเศรษฐกิจ คือ เป็นทั้งหน่วยผลิตและหน่วยบริโภคที่สําคัญของระบบเศรษฐกิจ
8. รักษาเพิ่มพูนและถ่ายทอดทางวัฒนธรรมของสังคมให้แก่สมาชิก ทําให้วัฒนธรรมในสังคมดํารงอยู่ต่อไป